วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

วิธีการดูแลรักษาจานดาวเทียม ครับ ^^

การบำรุงรักษา
ข้อควรปฏิบัติในการบำรุงรักษาเครื่องรีซีฟเวอร์ และข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัย

1. หลีกเลี่ยงการวางรีซีฟเวอร์ ในอากาศที่ร้อนหรือเย็นจัด
2. หลีกเลี่ยงการวางซีฟเวอร์ ในที่มีแสงแดดส่องถึง
3. ห้ามวางของที่บรรจุน้ำบนเครื่องรีซีฟเวอร์
4. ถ้าเครื่องรีซีฟเวอร์เสียห้ามซ่อมเอง ให้ติดต่อช่างผู้ชำนาญ
5. ขณะที่ฝนฟ้าคะนองให้ถอดปลั๊กและสายนำสัญญาณดาวเทียมออกจากเครื่องรีซีฟเวอร์
6. เมื่อไม่ได้ใช้รีโมท เป็นเวลานาน ให้ถอดแบตเตอรรี่ออก

คำเตือน : ข้อควรระวัง!!!

เพื่อป้องกันการเกิดไฟไหม้ หรือไฟฟ้าดูดควรระวังอย่าให้เครื่องรีซีฟเวอร์โดน ละอองน้ำ หรือความเปียกชื้น ในกรณีที่เกิดพายุ ฝนฟ้าคะนอง หรือไฟฟ้าดับ กรุณาถอดปลั๊ก และสายอากาศ จากตัวเครื่อง

ข้อควรปฏิบัติในการบำรุงรักษาตัวจานรับสัญญาณ

1. หลีกเลี่ยงการทำให้เกิดการบิดเบี้ยว หรือเสียรูปของอุปกรณ์ เพราะจะทำให้การรับสัญญาณด้อยประสิทธิภาพ
2. ตรวจสอบความแข็งแรงของรากฐานของเสาที่ใช้ยึดติดกับจาน
3. ตรวจสอบจุดยึดของน็อตทุกตัว และทุกจุดว่าเกิดการคลายตัวหรือไม่ ยกเว้นน็อตยึดมุมกวาด ที่มีไว้เพื่อให้จากซ้ายขวาได้ต้องยึดแบบไม่หลวม และไม่แน่นจนเกินไป ให้เกิดความคล่องตัว
4. ตรวจสอบเทปกันน้ำที่พันอยู่ที่ตัว LNB ว่ามีการชำรุด ฉีกขาดหรือไม่ ถ้ามีให้ทำการเปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อย ก่อนทำการปิดเครื่อง Receiver
5. สำหรับจานมูฟ เมื่อเลิกการใช้งานให้ทำการมูฟจานไปที่ตำแหน่งดาวเทียม Asiasat 2 หรือ Asiasat 3s ก่อนทำการปิดเครื่องรีซีฟเวอร์
6. สำรับจานมูฟ เมื่อมีการใช้งานได้อายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ควรหยอดน้ำมันหล่อลื่น เช่น น้ำมันเครื่อง เพื่อให้แอคทูเอเตอร์ (มอเตอร์) ที่ตำแหน่งน็อต 2 ตัวที่ยึดกับบาร์ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวขณะมูฟ

การติดตั้งจานดาวเทียม Ku-band จ้า ^^

การติดตั้งจานดาวเทียม Ku-band


จานดาวเทียม Ku-band
เรามาดูกันดีกว่านะครับว่าจาน Ku-band นั้น เค้าติดตั้งกันอย่างไร

 
สำหรับเพื่อนๆที่ต้องการโหลด วิธีการติดตั้งจานดาวเทียม Ku-band ตามลิ้งด้านล่างนี้เลยครับ ^^
 

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

การติดตั้งจานดาวเทียม C-band จ้า ^^

กาตั้งจานดาวเทียม C-band
จานดาวเทียม C-band
เรามาดูกันดีกว่านะครับว่าจาน C-band นั้น เค้าติดตั้งกันอย่างไร


 
 
สำหรับเพื่อนๆที่ต้องการโหลด วิธีการติดตั้งจานดาวเทียม C-band ตามลิ้งด้านล่างนี้เลยครับ ^^
 


จานดาวเทียมคืออะไร

จานดาวเทียมคือ

จานดาวเทียม คือ วัตถุที่ทำด้วยโลหะ เหล็ก ไฟเบอร์ อลูมิเนียม ที่มีคุณสมบัติในการสะท้อนสัญญาณคลื่นไมโครเวฟที่ส่งมาจากนอกโลก โดยดาวเทียมเป็นผู้ส่งมา แต่ก่อนที่ดาวเทียมจะส่งสัญญานลงมา ดาวเทียมก็รับสัญญาณจากสถานีดาวเทียมบนพื้นโลกมาก่อน คนที่ติดจานดาวเทียม ก็ใช้เพื่อวัตถุประสงค์หลากหลาย เช่น รับ-ส่งข้อมูล ดิจิตอลต่างๆ หรือนำมาใช้เพื่อรับข้อมูลภาพและเสียง หรือ ทีวี

เรามาดูข้อดีและข้อเสียของจานดาวเทียม Ku-band กันดีกว่าครับ

จานดาวเทียม C-band
จานดาวเทียมC-band

    เคยูแบนด์ (อังกฤษ: Ku band) คือย่านหนึ่งของสเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในย่านความถี่ไมโครเวฟ สัญลักษณ์ Ku หมายถึง "เค-ข้างใต้" (มาจากคำดั้งเดิมในภาษาเยอรมันว่า "Kurz-unten" ซึ่งมีความหมายเดียวกัน) ซึ่งมีความหมายถึงแถบที่อยู่ข้างใต้แถบ K ในการประยุกต์ใช้งานเรดาร์ จะมีช่วงความถี่ครอบคลุมระหว่าง 12-18 GHz ตามคำนิยามทางการของแถบความถี่วิทยุตามมาตรฐาน IEEE 521-2002[1][2]
   เคยูแบนด์ มีการใช้งานโดยทั่วไปในการสื่อสารดาวเทียม ที่สำคัญๆ คือ ดาวเทียมส่งผ่านการติดตามข้อมูล (Tracking Data Relay Satellite) ขององค์การนาซา สำหรับทั้งการติดต่อกับกระสวยอวกาศและการสื่อสารกับสถานีอวกาศนานาชาติ ดาวเทียมแบบเคยูแบนด์ยังมีการใช้งานสำหรับการส่งข้อมูลไปยังที่ห่างไกล เช่นสำหรับเครือข่ายระบบโทรทัศน์ที่ใช้ในการแก้ไขและการออกอากาศ แถบความถี่นี้ยังแบ่งออกเป็นช่วงย่อยอีกหลายช่วงแล้วแต่บริเวณทางภูมิศาสตร์ ซึ่งจัดแบ่งโดยสมาพันธ์การสื่อสารสากล (International Telecommunication Union; ITU) สถานีโทรทัศน์ NBC เป็นเครือข่ายโทรทัศน์แห่งแรกที่ทำการอัพลิงก์รายการส่วนใหญ่ผ่านเคยูแบนด์ในปี ค.ศ. 1983
 
 ข้อดี 
 
1.จานดาวเทียม ระบบ KU-BAND มีขนาดเล็กสามารถติดตั้งได้ง่ายใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย
2.สามารถติดตั้งได้สำหรับคอนโดมิเนียม หรือ อาพาร์ทเม้นท์ ที่มีเทอเรสท์ หันไปทางทิศตะวันตกหรือทิศใต้
3.การเพิ่มจุดรับชมสามารถทำได้ง่ายราคาประหยัดเนื่องจากรีซีฟเวอร์ระบบ KU-band นั้นราคาไม่แพง
4.รายการช่องจะมีมาก และจะมีการผลิตช่องรายการเพิ่มอยู่ตลอดเวลา
5.สามารถชมช่องพิเศษตามของยี่ห้อดาวเทียมนั้นๆได้
6.การSERVICEทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากอะไร เนื่องจาก จานดาวเทียม มีขนาดเล็ก
7.การเคลื่อนย้าย จานดาวเทียม ทำได้ง่ายสามารถทำได้เองถ้ามีทักษะในการติดตั้ง จานดาวเทียม พอสมควร

ข้อเสีย 
 
1.จาน ดาวเทียม ระบบKU-Band จะไม่สามารถรับชมรายการได้ในขณะที่ฝนตกหนักหรือขณะที่ท้องฟ้าครึมมากๆเพราะ สัญญานดาวเทียม KU-BAND ไม่สามารถหลีกเลี่ยงเม็ดฝนลงมาได้
2.ถ้าอยากชมรายการพิเศษ จำเป็นต้องเสียเงินสำหรับรับชมช่องรายการพิเศษของจานดาวเทียมนั้น หรือต้องเช้าจานดาวเทียมและ เติมเงินโทรศัพท์เช่นจานดาวเทียมสีแดง

เรามาดูข้อดีและข้อเสียของจานดาวเทียม C-band กันดีกว่าครับ

จานดาวเทียม C-band
จานดาวเทียม C-band

   จานดาวเทียมชนิดนี้มีลักษณะเป็นตะแกรงๆอลูมิเนียมพ่นสีดำ จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 150 cm-227cm หรือ 5 ฟุต - 7 ฟุต แต่ขนาดที่เหมาะสมมากที่สุดสำหรับติดตั้งภายในบ้าน ควรจะเลือกรุ่นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 150-170 cm. เพราะสัญญาณที่ได้จะแรงและมีปริมาณของสัญญาณมาก ภาพจะไม่ค่อยมีปัญหาเป็นเม็ดสี่เหลี่ยม
   ปัจจุบัน เครื่องรับสัญญาณ จานดาวเทียม จะมีระบบ OTA (Over to Air) คือการปรับปรุงช่องรายการโดยผ่านดาวเทียม ส่งตรงเข้าสู่ จานดาวเทียม
 
ข้อดี

1.จานดาวเทียม ดำระบบ C-BAND จะสามารถยังรับชมภาพได้อยู่ในขณะที่ฝนตก
2.การเพิ่มจุดรับชมสามารถทำได้ง่ายราคาประหยัดเนื่องจากรีซีฟเวอร์ระบบ C-band นั้นราคาถูก
3.รายการช่องจะมากขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากจะมีการผลิตช่องรายการเพิ่มอยู่ตลอดเวลา
4.ติดตั้งครั้งเดียวจบไม่มีค่าใช้จ่ายรายเดือน เพราะเป็นช่องฟรีทีวี
 
 
ข้อเสีย 

1.จานดาวเทียม อาจจะมีขนาดใหญ่เกินไปสำหรับท่านที่ชอบจานใบเล็กๆ
2.ต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้งมากกว่า จานดาวเทียม ระบบKU-band
3.การติดตั้งยากพอสมควรสำหรับบ้านที่ไม่มีดาดฟ้า
4.การ SERVICE ทำได้ยากกว่ากรณีที่บ้านไม่มีพื้นที่ให้ติด จานดาวเทียม
5.กรณีที่บ้านไม่มีพื้นที่ติดตั้ง จานดาวเทียม อาจต้องใช้อุปกรณเสริมเพิ่ม ทำให้ต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น

การเข้าหัวสาย RG-6

เรามาดูวิธีการเข้าหัวสาย RG-6 กันนะครับ

อุปกรณ์ในการติดตั้งจานดาวเทียม

อุปกรณ์ในการติดตั้ง

1.ค้อนตีกิ๊ป

2.คีมย้ำหัว RG-6

3.ตัวปลอกสายRG-6

4.คัตเตอร์

5.เครื่องวัดระดับน้ำ

6.สว่าน

7.สาย RG-6

8.ประแจเบอร์ 10

9.หัว F-Type RG-6

10.เทปพันสาย

11.ไขควงแฉก

12.เคเบิลไทร์

13.เข็มทิศ

14.กิ๊ปเดินสายไฟ

15.ตัววัดมุม




วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

ประเภทของดาวเทียมสื่อสาร

ประเภทดาวเทียมสื่อสาร

1.ดาวเทียมสื่อสาร
2.ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
3.ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ
4.ดาวเทียมนำร่อง
5. ดาวเทียมวิทยาศาสตร์
6. ดาวเทียมทหาร

สามารถดาวน์โหลดข้อมูลประเภทของดาวเทียมสื่อสารได้ที่ลิ้งทางด้านล่างเลยครับ
 
 
 



ความหมายของดาวเทียม

ความหมายของดาวเทียม
  ห้องทดลองที่นักวิทยาศาสตร์บรรจุอุปกรณ์ต่างๆเอาไว้แล้วส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกเพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันแล้วแต่ความมุ่งหมายของแต่ละโครงการ ดาวเทียมอาจมีรูปร่างเป็นทรงกลม รูปกลองหรือหีบก็ได้ และไม่จำเป็นต้องมีรูปร่างเพรียวลมเหมือนยวดยานต่างๆที่เราใช้อยู่บนโลก

ประวัติความเป็นมาของดาวเทียม

 

ผู้ริเริ่มให้แนวคิดการสื่อสารดาวเทียม

ARTHUR C. CLARKE
      " อาเธอร์ ซี คลาร์ก " (ARTHUR C. CLARKE) เป็นนักเขียนนิยายและสารคดีวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาได้สร้างจินตนาการของการสื่อสารดาวเทียมให้เราได้รู้ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 หรือตรงกับ พ.ศ. 2488 โดยเขียนบทความเรื่อง " EXTRA TERRESTRIAL RELAYS" ในนิตยสาร "WIRELESS WORLD" ฉบับเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1945 ซึ่งในบทความได้กล่าวถึงว่า " ถ้ามนุษย์ชาติเรานำเอาสถานีทวนสัญญาณขึ้นไปลอยในอวกาศ เพื่อใช้ในการส่งสัญญาณข่าวสารต่างๆ เพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างจุดหนึ่งกับอีกจุดหนึ่ง ในรูปแบบของภาคพื้นดินสู่อวกาศ และจากอวกาศกลับเข้ามาสู่ภาคพื้นดินอีกครั้งหนึ่ง โดยเรียกสถานีทวนสัญญาณนี้ว่า " ดาวเทียม "